ออกเดินทางเที่ยวแรก [17] ของ อาร์เอ็มเอส ไททานิก

  • เรือไททานิกพร้อมที่จะถูกปล่อยลงน้ำเป็นครั้งแรก
  • ใบจักรของเรือไททานิก
  • ตั๋วเข้าชมพิธีปล่อยเรือไททานิกลงน้ำ
เรือไททานิกและเรือโอลิมปิก

วันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1911

เรือไททานิกถูกปล่อยลงน้ำเป็นครั้งแรก[1] โดยใช้เวลาเพียง 62 วินาที เรือก็ลงสู่น้ำเป็นที่เรียบร้อย ไททานิกที่ต่อเสร็จแล้วได้กลายเป็นพาหนะที่ใหญ่ที่สุดในโลกในยุคนั้น มีความยาว 268 เมตร กว้าง 28 เมตร และความสูงวัดจากท้องเรือถึงสะพานเดินเรือ (สะพานเดินเรือหมายถึงห้องควบคุมเรือที่อยู่บนดาดฟ้า) 30 เมตร พิธีปล่อยเรือถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และมีผู้เข้าชมถึง 100,000 คน

หลังจากใช้เวลาตกแต่งหลายเดือน ในที่สุด ไททานิกก็กลายเป็นเรือเดินสมุทรสุดหรูหรา ไททานิกมีระวาง 46,300 ตัน[1] ใหญ่กว่าเรือโอลิมปิก 1,000 ตัน บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือได้เต็มที่ถึง 3,547 คน มีเครื่องยนต์ที่มีพลังแรงถึง 46,000 แรงม้า ค่าก่อสร้าง 7,500,000 ดอลลาร์และค่าตกแต่งอีก 2,500,000 ดอลลาร์ รวมเป็น 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากเทียบเป็นค่าเงินในปัจจุบันจะเป็น 400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

วันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912

ไฟล์:Titanic new york.jpgเรือไททานิก, อาร์เอ็มเอส โอเชียนิก (ค.ศ. 1899) (RMS Oceanic) และเอสเอส ซิตีออฟนิวยอร์ก (SS City of New York)กับตัน เอ็ดเวิร์ด จอห์น สมิธ กัปตันเรือ ไททานิกเรือไททานิกออกจากท่าเรือเซาแทมป์ตันในการเดินทางครั้งแรก

สายการเดินเรือไวต์สตาร์จัดการเดินทางรอบปฐมฤกษ์ของเรือไททานิกในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 โดยเดินทางจากท่าเรือเซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ไปยังนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางรอบปฐมฤกษ์นี้เป็นแผนการประชาสัมพันธ์เรือไททานิกด้วย ดังนั้นจึงมีบุคคลสำคัญและบุคคลในวงสังคมชั้นสูงทั้งของอังกฤษ ทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริการ่วมเดินทางไปด้วยเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง เจ. พี มอร์แกน เจ้าของไวต์สตาร์ เจ. บรูซ อิสเมย์ ผู้จัดการไวต์สตาร์ รวมทั้งยังมีโทมัส แอนดรูวส์ จูเนียร์ วิศวกรอาวุโสของอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์ และวูลฟฟ์ ผู้ออกแบบและควบคุมการต่อเรือไททานิก แต่ต่อมามอร์แกนยกเลิกการเดินทางกะทันหันเนื่องจากล้มป่วย[3]

กัปตันเรือไททานิก คือ เอ็ดเวิร์ด จอห์น สมิธ เขาเป็นกัปตันเรือที่เก่งกาจและมีค่าตัวแพงที่สุดในยุคนั้น การเดินทางเที่ยวนี้จะเป็นเที่ยวสั่งลาในอาชีพกัปตันเรือเพราะหลังจากนั้นกัปตันสมิทก็จะเกษียณแล้ว[3]

แม้ไททานิกจะถูกออกแบบมาให้เป็นเรือที่ใช้ในได้ในทุกฤดูกาล แต่การเดินทางในช่วงนี้ก็ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะธารน้ำแข็งแถบกรีนแลนด์จะละลายและก่อให้เกิดภูเขาน้ำแข็งเคลื่อนตัวลงมาในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือและลอยตามกระแสน้ำในมหาสมุทรลงมาทางใต้

ในเช้าวันเดินทาง ตามกฎการเดินเรือ เจ้าหน้าที่ประจำเรือต้องฝึกซ้อมการใช้เรือชูชีพเผื่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน การฝึกซ้อมในเช้านั้นแค่พอเป็นพิธีเท่านั้น ดังนั้นจึงมีลูกเรือมาฝึกซ้อมเพียงไม่กี่นาย แต่เดิมไททานิกถูกออกแบบมาให้มีเรือชูชีพ 32 ลำ แต่ต่อมาถูกตัดออกเหลือ 20 ลำซึ่งจุผู้โดยสารรวมกันได้ 1,178 คนเท่านั้น เนื่องจากเห็นว่าเกะกะ อีกทั้งเห็นว่าจำนวนเพียงเท่านี้ก็เหลือเฟือแล้วตามกฎหมายการเดินเรือในยุคนั้นที่กำหนดจำนวนเรือชูชีพตามน้ำหนักเรือเป็นเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้โดยสาร ซึ่งในกรณีของไททานิก เรือชูชีพเพียงแค่ 962 ที่ก็เป็นการเพียงพอแล้ ตามกฎหมาย

ครั้นเวลาเที่ยง เรือไททานิกก็ออกเดินทางจากท่าเรือเซาแทมป์ตัน ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่พนักงานเหมืองถ่านหินประท้วงและนัดหยุดงาน ส่งผลให้เรือหลายลำต้องจอดแช่อยู่ที่ท่าเรือเนื่องจากไม่มีถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง แต่เนื่องจากไวต์สตาร์เป็นสายการเดินเรือใหญ่ จึงมีถ่านหินตุนอยู่บ้างทำให้ไททานิกสามารถออกเดินทางได้[1]

จากการที่ท่าเรือค่อนข้างคับคั่ง เมื่อไททานิกอันเป็นเรือขนาดใหญ่มหึมาออกจากท่า ผลจากการเคลื่อนตัวของเรือทำให้น้ำกระเพื่อมและเกิดแรงดูดอันมหาศาลดึงเรือที่อยู่ใกล้เคียงเข้าหาเรือไททานิก เรือเอสเอส ซิตีออฟนิวยอร์ก ถูกกระแสน้ำดูดจนเกือบชนเรือไททานิกโดยห่างเพียงหนึ่งเมตรกว่าๆ เ ท่านั้นเอง โชคดีที่เบนเรือออกทัน อุบัติเหตุในครั้งนี้ก็เป็นสาเหตุเดียวกับที่เรือโอลิมปิกเกิดอุบัติเหตุชนกันจนต้องซ่อมใหญ่ก่อนหน้านี้[18]

เมื่อออกจากท่าเรือเซาแทมป์ตัน ไททานิกมุ่งหน้าไปยังเมืองแชร์บูร์ก ประเทศฝรั่งเศส[1] เพื่อแวะรับผู้โดยสาร[19]

11 เมษายน

ไททานิกแวะที่ท่าเรือเมืองควีนส์ทาวน์ ไอร์แลนด์ และในเวลา 13.30 น. ไททานิกก็ถอนสมอและมุ่งหน้าไปยังสหรัฐอเมริกา[1][19]

12 - 13 เมษายน

ทะเลสงบและอากาศแจ่มใส การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้โดยสารบนเรือต่างรื่นเริงกับการเดินทางอันหรูหราในครั้งนี้[2]

14 เมษายน

ตามกำหนดการเดิม เช้าวันอาทิตย์ที่ 14 นี้จะต้องมีการซ้อมการใช้เรือชูชีพโดยมีผู้โดยสารร่วมฝึกซ้อมด้วย แต่การฝึกซ้อมได้ถูกยกเลิกไป

แม้ในสมัยนั้นจะมีระบบโทรศัพท์เกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่การติดต่อด้วยเสียงพูดระหว่างเรือกับเรือหรือเรือกับแผ่นดินยังไม่สามารถทำได้ ระบบที่มีอยู่ในตอนนั้นคือวิทยุโทรเลขซึ่งเป็นการส่งรหัสมอร์สด้วยคลื่นวิทยุ ในเรือแต่ละลำจะมีห้องวิทยุโทรเลขซึ่งมีเจ้าหน้าที่คอยรับส่งข้อความโดยเฉพาะเพราะต้องเป็นผู้ที่รู้จักรหัสมอร์ส[20]

ห้องส่งวิทยุโทรเลขบนเรือเดินสมุทรในยุคนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการแก่ผู้โดยสารเป็นหลัก เพราะการเดินทางโดยทางเรือนั้นต้องใช้เวลานาน จากหลายวันถึงเป็นเดือน ดังนั้นการติดต่อกับผู้ที่อยู่บนบกจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้โดยสาร ส่วนการใช้เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือนั้นเป็นวัตถุประสงค์รอง[21]

ในเรือไททานิกนี้ก็เช่นกัน ห้องวิทยุโทรเลขมีไว้เพื่อบริการผู้โดยสารเป็นหลัก เจ้าหน้าที่วิทยุโทรเลขนี้ไม่ใช่พนักงานประจำเรือ แต่เป็นพนักงานของบริษัทมาร์โคนีซึ่งเป็นต้นตำรับในการสื่อสารด้วยวิทยุโทรเลข แม้แต่ใบโทรเลขในยุคนั้นที่จริงก็ไม่ได้เรียกว่า โทรเลข (telegram) แต่เรียกว่า มาร์โคนีแกรม (marconigram) อัตราค่าส่งวิทยุโทรเลขบนเรือไททานิกคิดเป็นเงิน 3.12 ดอลลาร์หรือเทียบเท่ากับ 36 ดอลลาร์ในปัจจุบัน[20]

เนื่องจากไททานิกเป็นเรือขนาดใหญ่ จุผู้โดยสารได้มาก ดังนั้นปริมาณการใช้บริการส่งวิทยุโทรเลขก็ต้องมากเป็นธรรมดา พนักงานรับส่งวิทยุโทรเลขจึงต้องทำงานค่อนข้างหนักมาก เมื่อว่างเว้นจากงานบริการผู้โดยสารแล้วจึงค่อยมาสะสางเรื่องการติดต่อเพื่อการเดินเรือ อีกทั้งในสมัยนั้นยังไม่มีขั้นตอนการนำส่งข้อความแก่กัปตันเรืออย่างเป็นระบบ ดังนั้นจึงไม่มีหลักประกันแต่อย่างใดว่าข่าวสารจะถึงมือกัปตันหรือไม่ หรือถึงช้าเร็วเพียงใด[20]

เช้าวันที่ 14 เมษายน กัปตันสมิทสั่งเดินเครื่องเรือไททานิกเต็มที่ สำหรับสาเหตุของการเร่งเครื่องครั้งนี้เนื่องจาก การเกิดเหตุเพลิงไหม้ใน บล็อกเก็บถ่านหินที่ 5 และ 6 วิธีการที่จะดับไฟจากถ่านหินคือต้องใช้ถ่านหินที่มีไฟลุกอยู่ตักเข้าห้องเครื่องให้หมด หากทว่าถ่านหินที่เก็บไว้นั้นจะไม่เพียงพอที่จะพาเรือไปยัง นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาได้หากใช้ความเร็วตํ่า เพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียงนั้น เหตุการณ์ที่อาจจะหลีกเลี่ยงได้คือการชนภูเขานํ้าแข็ง แต่ การใช้ถ่านหินหมด เป็นไปได้มากกว่า ไททานิกจึงแล่นด้วยความเร็วถึง 22.5 นอต ซึ่งเกือบถึงความเร็วสูงสุดของเรือ (23 นอต) [2]

และในวันเดียวกันนี้เอง ไททานิกได้รับวิทยุโทรเลขเตือนเรื่องภูเขาน้ำแข็งในเส้นทางเดินเรือถึง 7 ครั้ง (เอกสารบางแหล่งระบุว่า 6 ครั้ง) จากเรือเดินสมุทรในสายแอตแลนติกเหนือ อาทิ จากเรือ อาร์เอ็มเอส แคโรเนีย (RMS Caronia), อาร์เอ็มเอส บอลติก, เอสเอส อเมริกา (SS Amerika) [22], เอสเอส แคลิฟอร์เนียน (SS Californian) และ เอสเอส เมซาบา (SS Mesaba) ฯลฯ และที่ร้ายก็คือ เมื่อเวลา 21.45 น. ไททานิกได้รับวิทยุโทรเลขเตือนว่ามีภูเขาน้ำแข็งและน้ำแข็งกระจัดกระจายอยู่ในเส้นทางข้างหน้า แต่พนักงานวิทยุโทรเลขไม่ได้ส่งข้อความนั้นให้แก่กัปตันหรือเจ้าหน้าที่เรือคนใดเลย ทั้งนี้ เพราะมัวยุ่งอยู่กับการส่งวิทยุโทรเลขให้แก่ผู้โดยสาร

ใกล้เคียง

อาร์เอ็มเอส ไททานิก อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย อาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย อาร์เอ็มเอส แอควิเทเนีย อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2 อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาร์เอ็มเอส ไททานิก http://jproc.ca/radiostor/titanic.html http://www.gov.ns.ca/nsarm/cap/titanic/ http://www.anesi.com/titanic.htm http://www.atlanticliners.com/titanic_home.htm http://www.keyflux.com/titanic/facts.htm http://www.keyflux.com/titanic/timeline.htm http://www.maritimequest.com/liners/titanic/pages/... http://www.maritimequest.com/liners/titanic_data.h... http://www.thegreatoceanliners.com/titanic.html http://www.titanic-nautical.com/titanic-facts.html